ข้อมูลสถานศึกษา

http://kanyurai.siam2web.com/

      การวิเคราะห์ SWOT ของสถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพโพนทอง 


จุดแข็ง   (Strength) 

1.  เป็นสถานศึกษาที่ตั้งอยู่กึ่งกลางหลายอำเภอ เช่น อำเภอโพธิ์ชัย   อำเภอหนองพอก  อำเภอเมยวดี อำเภอเสลภูมิและอำเภอโพนทอง  จึงเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่ใหญ่
2.  บุคลากรเป็นผู้มีความรู้  ความสามารถ เฉพาะทางและจบการศึกษาขั้นสูงสุดปริญญาโท เป็นส่วนมาก

3.  ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  ทั้งในด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้  การอบรมสัมมนาหรือพัฒนาครู  การอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

4.  มีการจัดทำสิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย โครงการและเอกสารประกอบที่สมบูรณ์ สอดคล้องกับสาขาวิชา  นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และมีการเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง

5.  ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความสามารถ ส่วนใหญ่ จบการศึกษาในระดับปริญญาโท 

6. บุคลากรมีความพร้อมในการพัฒนาทุกด้านตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทันสมัย

7. สถานศึกษามีการประสานงานกับชุมชนอย่างคล่องตัวและต่อเนื่อง

8. สภาพแวดล้อมในสถานศึกษาเอื้ออำนายต่อการจัดการเรียนการสอน

9. สถานประกอบการในชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดกระบวนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

10.  หลักสูตรที่ใช้การจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมอย่างสม่ำเสมอ

11.  ระคมทรัพยากรร่วมกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

จุดอ่อน   (Weakness)


1.  กลุ่มเป้าหมายหรือนักเรียน นักศึกษา มีอาชีพหลักคือการทำเกษตรกรรม  เป็นครอบครัวผู้มีรายได้น้อย

2.  ครูต้องทำหน้าที่นอกเหนือจากงานสอนมาก  ทำให้ไม่มีเวลาในการคิด ประดิษฐ์  นวัตกรรม  สื่อการเรียน การสอน  เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน

3.  การจัดการศึกษาที่เปิดสอนไม่หลากหลายและยืดหยุ่น  ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

4. ห้องเรียน อาคารเรียน ยังไม่เป็นสัดส่วน ยังมีการใช้ห้องเรียนหรืออาคารเรียนร่วมกันในหลายๆ แผนกวิชา

5. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเป็นชิ้นงาน โครงการที่มีประโยชน์ทางวิชาชีพและนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชนทุกสาขาวิชา/สาขางาน

6. ส่งเสริมการจัดทำงานวิจัย และนวัตกรรมวิชาชีพของครูและบุคลากรทางการศึกษา

7. ขาดระบบการประเมินครูและบุคลากรผู้สอน

8. ครูและบุคลากรทางการศึกษาขาดกระบวนการเรียนในการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

9. ขาดการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง

10. บุคลากรทำหน้าที่หลายอย่าง

11.    การเข้า-ออกของบุคลากรในสถานศึกษาบ่อยเกินไป

 

อุปสรรค   (Threat)


1.  ประชาชนบางส่วนไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา
2.  ขาดแคลนบุคลากร  เช่น  ข้าราชการประจำ  ลูกจ้าง   เป็นต้น  จึงให้บุคลากรช่วยกันปฏิบัติงานแทน   ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบได้เต็มที่
 3.  ไม่มีบุคลากรที่จบตรงกับสาขาวิชาหลัก ได้แก่ คณิต อังกฤษ วิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดกระบวนการเรียนไม่ประสบความสำเร็จ

4.       ขาดงบประมาณในการจัดทำสิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย และโครงการต่างๆ

5.       ขาคบุคลากรในการปฏิบัติงาน

6.       ผู้ปกครองไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการศึกษาเท่าที่ควร

7.       บุคลากรส่วนหนึ่งแบ่งแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า ไม่หลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พูดกันคนละอย่าง ทำกันคนละอย่าง มีปัญหาการร้องเรียน บัตรสนเท่ห์ ขาดความเป็นเอกภาพ

8.       ขาดการจัดทำหลักสูตรร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับชุมชน

9.       บุคลากรขาดทักษะประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจ

10.    สถานประกอบการไม่เข้าใจในสถานศึกษาต่อการพัฒนาด้านอาชีพ

11.    เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามไม่ทัน

12.    ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศรวมถึงความมั่นคงทางด้านการเมือง

13.    สถานประกอบการและชุมชนขาดความเชื่อมั่นของสถานศึกษา

 

 

 

โอกาส  (Oppartunity)


1.  มีการประชาสัมพันธ์  แนะนำกิจกรรมหลักสูตร  สถานศึกษา  ให้กับประชาชนอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
2.  มีสถานที่บางส่วน  ให้บริการมีความสวยงาม ร่มรื่น เหมาะสำหรับการศึกษาหาความรู้
3.  รูปแบบการจัดการศึกษาที่เอื้อประโยชน์  และตรงกับความต้องการของประชาชนมากขึ้น  เช่น  การเทียบโอนประสบการณ์ การเปิดสอนระยะสั้น เป็นต้น

4.       ผลักดันและสร้างโอกาสให้วิทยาลัยสามารถเปิดสอนในระดับปริญญาตรีให้ได้ ในระยะเวลาอันใกล้นี้

5.       มีการประชาสัมพันธ์แนะนำหลักสูตรและกิจกรรมของวิทยาลัยให้กับสังคมอย่างสม่ำเสมอ

6.       จัดการเรียนการสอนที่เอื้อประโยชน์และตรงกับความต้องการของนักเรียน นักศึกษามากขึ้น เช่น การเปิดสอนหลักสูตรระยะสั้น

7.       จัดหาวัสดุครุภัณฑ์การศึกษาที่มีมาตรฐานและครบตามความต้องการของสาขาวิชาชีพ

8.       สร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนและสถานประกอบการให้มากขึ้น

9.       สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการและชุมชน ในการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้มากขึ้น

10.    นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามภาวะเศรษฐกิจในยุดปัจจุบัน

11.  แลกเปลี่ยนบุคลากรร่วมกันระหว่างองค์กร หน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการบริการ 

จุดควรพัฒนา

 

1.  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระบบเครือข่ายภายในวิทยาลัยให้เทียบเท่าระดับสากล

2.  การทำกิจกรรมของนักเรียน  นักศึกษา โครงการต่าง ๆ

3.  ชมรมวิชาชีพ ทุกแผนกวิชา  ควรมีการบริหารงานอย่างชัดเจน

4.  สภาพภูมิทัศน์โดยรอบ และภายในวิทยาลัย

5.  การเข้าร่วมกิจกรรม  โครงการต่าง ๆ ร่วมกับชุมชนภายนอกวิทยาลัย

6.  พัฒนา  นวัตกรรม สื่อการเรียน การสอน เพิ่มขึ้น  เพื่อช่วยประหยัดงบประมาณของทางราชการ

7.  ควรมีการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีให้มากขึ้น และอุปกรณ์ควรที่จะทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

8.  การจัดการเรียนการสอนควรมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน นักศึกษาเพื่อที่จะได้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้

9. สร้างอาคารเรียน ห้องเรียนเพิ่มขึ้นและแบ่งเป็นสัดส่วนความรับผิดชอบอย่างชัดเจน

10. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรในสถานศึกษาโดยจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่น การทัศนศึกษาดูงาน  ฯลฯ

11. การบริหารจัดการบุคลากรในสถานศึกษาที่มีอยู่อย่างมีคุณภาพและตรงต่อความถนัดนั้นๆ

12. มาตรฐานการจัดการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อเป็นที่ยอมรับของสังคม


Advertising Zone    Close
Online: 1 Visits: 3,836 Today: 5 PageView/Month: 8

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...